รับซื้อ รับฝากขาย ให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ในเชียงใหม่

ขายฝาก-จำนอง ต่างกันอย่างไร รู้ให้ชัดก่อนตัดสินใจทำสัญญา

สัญญาขายฝากกับสัญญาจำนอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร แบบไหนเหมาะกับใคร นำที่ดินที่ขายฝากไปจำนองกับธนาคารได้ไหม? ใครยังสงสัยเรื่องนี้ มาทำความเข้าใจกันก่อน
หลายคนสงสัยว่า การขายฝากคืออะไร เหมือนกับการจำนองหรือไม่ หากใครอยากรู้ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเพื่อมาไขข้อสงสัยกัน และเปรียบเทียบดูแบบชัดๆ ว่า การทำสัญญาที่ดินแต่ละแบบทั้งจำนองและขายฝาก คืออะไร ต่างกันอย่างไรบ้าง

ขายฝาก คืออะไร
การทำสัญญาขายฝาก เป็นการทำสัญญากู้เงิน ที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ โดยลูกหนี้จะทำการขายทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งต้องมีการโอนทรัพย์สินระหว่างกันก่อน แต่มีข้อตกลงเพิ่มเติมว่า ลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์สินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดกันไว้

ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ นาย A นำบ้านพร้อมที่ดิน ไปทำสัญญาขายฝากกับนาย B เป็นระยะเวลา 1 ปี นั่นหมายความว่า ถ้าภายใน 1 ปีหลังทำสัญญา นาย A ต้องการซื้อบ้านพร้อมที่ดินคืน นาย B จะต้องขายคืนให้โดยไม่มีขอยกเว้น แต่หากพ้น 1 ปีไปแล้ว บ้านพร้อมที่ดินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย B ทันที ซึ่งนาย B จะนำทรัพย์สินไปดำเนินการอะไรก็ได้นั่นเอง

ทั้งนี้ การทำสัญญาขายฝาก หากครบสัญญาแต่ลูกหนี้ยังไม่พร้อมไถ่คืน ลูกหนี้สามารถขอต่อสัญญาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และสามารถทำสัญญาได้นานสูงสุด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์ แต่หากเป็นสังหาริมทรัพย์จะมีกำหนด 3 ปี โดยการทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น

จำนอง คืออะไร
จำนอง คือ สัญญากู้เงิน ที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์บางประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย แต่จะไม่มีการโอนทรัพย์สิน เป็นแค่การนำทรัพย์สินนั้นไปจดทะเบียนเพื่อตราไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น โดยจะต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเช่นเดียวกับการขายฝาก

ส่วนกรณีที่ลูกหนี้เกิดผิดสัญญาไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองก็ยังไม่สามารถยึดทรัพย์ตามกฎหมายได้ เพราะทรัพย์สินนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้อยู่ ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องตามกฎหมายเพื่อให้ศาลบังคับกับลูกหนี้ลูกหนี้ก่อน จากนั้นจึงนำทรัพย์สินนั้นไปขายทอดตลาดที่กองบังคับคดี เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ โดยสัญญาจำนอง ไม่มีอายุความ แต่จะมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้เท่านั้น

ขายฝาก กับ จำนอง ต่างกันอย่างไร
สิ่งที่การทำสัญญาแบบขายฝากและจำนองแตกต่างกัน มีดังนี้
1. ลักษณะสัญญา
จำนอง : ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้
ขายฝาก : ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้

2. กรณีทำผิดสัญญา
จำนอง : หากครบสัญญาแล้ว ลูกหนี้สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจำนองจะฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่โดนฟ้อง ทรัพย์สินนั้นจะไม่สามารถนำมาขายได้
ขายฝาก : ลูกหนี้ต้องมาไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลาตามกฎหมายสามารถขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่หากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของเจ้าหนี้ทันที

3. ค่าจดทะเบียน
จำนอง : เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ขายฝาก : เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด

4. วงเงินในการอนุมัติ
จำนอง : ส่วนใหญ่จะได้วงเงินน้อยกว่า 30% ของราคาประเมิน
ขายฝาก : ได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน

สรุปแล้วจะพบว่าสัญญาขายฝากมีข้อดี คือ ผู้กู้เงินจะได้รับการอนุมัติเร็ว และมักจะให้วงเงินสูงกว่าจำนองค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สินที่นำไปทำสัญญา ถ้าโชคร้ายเจอนายทุนไม่ดี ต่อรองไม่ได้ ไถ่ถอนไม่ทันเวลาก็โดนยึดทันที รวมทั้งมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าการจำนองอีกด้วย

ขณะที่สัญญาจำนอง ข้อดีก็คือ มีความปลอดภัยด้านทรัพย์สินน้อยกว่า เนื่องจากไม่ต้องขายทรัพย์สินนั้น ๆ ให้เจ้าหนี้ โอกาสที่จะเสียทรัพย์สินจึงน้อย และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า แต่ข้อเสียก็มีเช่นกันคือ วงเงินที่ได้รับจะประมาณ 10-30% ของราคาประเมินเท่านั้น


เอาทรัพย์สินที่ขายฝาก ไปจำนองธนาคารได้ไหม ?
ในกรณีที่เจ้าหนี้ต้องการนำทรัพย์สินของลูกหนี้ที่นำมาขายฝาก ไปจำนองกับธนาคารอีกทอดหนึ่ง ซึ่งยังไม่ได้ถึงวันครบกำหนดชำระหนี้นั้น ตามกฎหมายถือว่าทำไม่ได้ แต่หากครบกำหนดสัญญาขายฝากแล้ว และลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระคืนหรือขอต่อสัญญา เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์อย่างถูกต้องที่จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปทำอะไรก็ได้ เพราะถือว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้แล้ว

รวมทั้งหากลูกหนี้ต้องการนำทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขายฝาก ไปจำนองกับธนาคารอีกทอดหนึ่งเพื่อนำเงินมาไถ่ถอนนั้น ตามกฎหมายก็ถือว่าทำไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขายฝากถือว่าอยู่ในการดูแลของเจ้าหนี้แล้ว และหากลูกหนี้ต้องการนำไปจำนองกับธนาคารต้องมีการไถ่ถอนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงจะสามารถดำเนินการได้

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Kapook.com , http://www.bangkoksmilecondo.co.th/tips/158

CONTACT

ติดต่อ "หาบ้าน"

@habanchiangmai 085 964 6661

PROCEDURE

ขั้นตอนการใช้บริการ "หาบ้าน"

กรอกแบบฟอร์ม

กรุณากรอกแบบฟอร์มให้ละเอียดที่สุด เพื่อประกอบการพิจารณา

รอการติดต่อจาก "หาบ้าน"

เมื่อสินทรัพย์ตรงตามเงื่อนไขต่างๆแล้ว ทาง"หาบ้าน" จะติดต่อกลับไปทางข้อมูลที่ฝากไว้

FAQ.

คำถามที่พบบ่อยของผู้ใช้บริการ

เรารับหาบาน ที่ดิน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด ทั่วเชียงใหม่

เรารับขายบ้าน ที่ดิน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด ทั่วเชียงใหม่

กรณี หาซื้อ ไม่มีค่าใช้จ่ายไดๆทั้งสิ้น

กรณี ฝากขาย มีค่านายหน้า 3-5 % เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น

กรณี รับฝากขาย จำนอง มีค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับว่า นายทุนจะให้เงื่อนไขราคาเท่าไร ตกลงเป็นกรณีไป

  1. กรอกข้อมูลเกี่ยวกับ บ้าน ที่ดิน คอนโด ของท่านลงในแบบฟอร์ม
  2. กรณีหาซื้อ เราจะส่งรายละเอียดสินทรัพย์ที่ท่านต้องการให้ไปในช่องทางที่ลงทะเบียนไว้ และหากท่านต้องการนัดหมายรับชม ต้องนัดล่วงหน้า 1 วัน
  3. กรณีฝากขาย สามารถส่งรายละเอียดสินทรัพย์ของท่าน ในแบบฟอร์มลงทะเบียน หากมีลูกค้าสนใจตรงกับสินทรัพย์ของท่าน เราจะติดต่อกลับไปทางช่องทางที่ลงทะเบียนไว้

ขายได้ โดยเราจะแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าว่าลูกค้าซื้ออยู่เอง หรือปล่อยเช่า เพื่อให้ท่านวางแผนในการขายต่อไป

กรณีทำสัญญากับเรา ไม่มีค่าใช้จ่ายไดๆเพิ่มเติม แต่หากลูกค้าต้องการทนาย ทางเราจะมีรายชื่อทนายให้เลือก และลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าทนายเอง

ทางเรามีบริการทำสินเชื่อให้ลูกค้าคนไทยที่ทำงานต่างประเทศ โดยลูกค้าจะต้องมีรายได้ และมีรายละเอียดถูกต้องตามเงื่อนไขและกฎหมาย ทางเราจะดำเนินการเรื่องสินเชื่อให้ฟรี โดยลูกค้าจะต้องซื้ออสังหาริมทรัพย์กับเราเท่านั้น